โรงเรียนขนาดกลางควรรู้ ทำไงดีจะได้รองผู้อำนวยการโรงเรียน ??
โรงเรียนขนาดกลางหลายโรงเรียน ที่มีจำนวนนักเรียนเยอะ มีภาระงานในด้านบริหารที่หลากหลาย ผู้อำนวยการคนเดียวอาจต้องรับภาระหนักในการบริหารโรงเรียน แต่ในเกณฑ์ใหม่ตาม ว.23 โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไปสามารถมีรองผู้อำนวยการโรงเรียนได้ โดย ดร.บวร เทศารินทร์ ได้อธิบายไว้ใน FACEBOOK ส่วนตัวไว้ดังนี้
@เป็นโรงเรียนขนาดกลาง เดิมไม่มีรอง เกณฑ์ใหม่ให้มีตำแหน่ง รอง ผอ.รร.ได้ ทำไงดี
https://www.facebook.com/BorwornTh
1.หลักเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูฯในโรงเรียน
– เกณฑ์เดิมมีนักเรียน 120-359 คน ไม่กำหนดให้มีตำแหน่งรองฯ(11 มิถุนายน 2545)
– เกณฑ์ใหม่มีนักเรียน 120-719 คน กำหนดให้มีตำแหน่งรองฯได้ 1 คน (ว 23 -23 ธันวาคม 2563)
2.นโยบายและแผนบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูฯ
– ก.ค.ศ. กำหนดเกณฑ์ว่าโรงเรียนควรมีจำนวนอัตราข้าราชการครูสายการสอน สายบริหาร และโดยรวมกี่คน จะมีเกินไม่ได้ (ความจริงมีขาดเกณฑ์(-) เกินเกณฑ์ (+) พอดีเกณฑ์(0) ทั้งรายตำแหน่งและโดยรวม)
– คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ไม่ให้เพิ่มอัตราข้าราชการ แต่หน่วยงานสามารถบริหาร(เพิ่ม-ลด) อัตรา/ตำแหน่งได้เท่าจำนวนที่มีในกรอบฯ
– คปร. กำหนดเมื่อมีข้าราชการครูเกษียณให้ยุบเลิกตำแหน่งอัตรานั้น (ข้าราชการครู คปร. จะคืนมาทั้งหมด)
– ก.ค.ศ. เมื่อได้รับคืนอัตราตำแหน่งจาก คปร. จะจัดสรรคืนหรือไม่จัดสรรคืนให้โรงเรียนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ คปร.กำหนด (เช่น นักเรียนน้อยกว่า 40 คน ไม่คืนผู้บริหาร ไม่จัดสรรครูคืนให้โรงเรียนเกินเกณฑ์ เป็นต้น)
– ก.ค.ศ. จัดสรรคืนให้หน่วยงาน หรือ สำนักงานเขตพื้นที่ให้บริหารอัตรากำลังตามเงื่อนไขที่ คปร.และ ก.ค.ศ.กำหนด
3.โรงเรียนมีนักเรียนจำนวน 120 ขึ้นไปมีโอกาสได้ตำแหน่งรอง ผอ.รร.หรือไม่
– ตรวจสอบจากเกณฑ์อัตรากำลัง หากโดยรวมพอดีเกณฑ์ ให้เลิกหวัง (เพราะตัดจากที่อื่นมาเป็นรองแล้วจะเกินเกณฑ์)
– หากครูเกินเกณฑ์และว่าง พอมีหวัง (เพราะใช้ตำแหน่งครูที่เกินนั้น)
– หากครูขาดเกณฑ์ พอมีลุ้น (เพราะสามารถตัดตำแหน่งที่อื่นมาเป็นรองฯได้ และไม่เกินเกณฑ์)
4. นิยามศัพท์การเกิดขึ้นของตำแหน่ง รอง ผอ.รร.
-การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง คือ การกำหนดตำแหน่งจากตำแหน่งหนึ่งเป็นตำแหน่งอื่นในสถานศึกษาเดียวกัน เช่น จากตำแหน่งครู เป็นตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
-การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน คือ การนำตำแหน่งและอัตราเงินเดือนจากสถานศึกษาหนึ่ง ไปกำหนดไปกำหนดเป็นตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นในสถานศึกษาใหม่ เช่น จากตำแหน่งรองผอ.รร. กอไก่ มาเป็นรอง ผอ.รร. ขอไข่ หรือจากตำแหน่งครูโรงเรียน มอม้า มาเป็นรอง ผอ.รร.โรงเรียน ยอยักษ์5.โอกาสที่โรงเรียนมีนักเรียนจำนวน 120 ขึ้นไปจะได้ตำแหน่งรอง ผอ.รร.
– โอกาสสูง ; เมื่อโรงเรียนมีครูเกินเกณฑ์และว่าง จะปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งครูนั้น มาเป็นรอง ผอ.รร.ได้)
– โอกาสรองลงมา ; เมื่อโรงเรียนมีครูขาดเกณฑ์ และมีโรงเรียนถูกโอนไปสังกัด อปท. มีตำแหน่ง รองผอ.รร.ว่าง (หรือคนครองแต่เจ้าตัวไม่อยากโอนไป) อาจตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน มาที่โรงเรียนนี้ได้
– โอกาสพอมีบ้าง ; เมื่อโรงเรียนมีครูขาดเกณฑ์ และถูกตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนครูจากโรงเรียนอื่นมาเป็น รอง ผอ.รร.นี้ ถูกตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนครูจากโรงเรียนอื่นที่สอบขึ้นบัญชีได้มาเป็น รอง ผอ.รร.นี้ )6. ดูแล้วมีโอกาสได้รอง ผอ.รร. แล้วขั้นตอนทำอย่างไร
-ทำเรื่องขอ หรือประสานไปยังสำนังานเขตพื้นที่การศึกษา(จริงๆคืออำนาจ หน้าที่เขตพื้นที่ต้องทำทั้งระบบอยู่แล้ว)
– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบข้อมูล
– คณะกรรมการบริหารอัตรากำลังหน่วยงานหรือเขตพื้นที่การศึกษาประชุมพิจารณาเห็นชอบ
– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอการ การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง หรือการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนมากำหนดเป็น รอง ผอ.รร. แล้วแต่กรณี ต่อ ศธจ.
– หาก กศจ.เห็นชอบ ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ก็ออกคำสั่ง การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง หรือการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน มาเป็นรอง ผอ.รร. แล้วแต่กรณี
– การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง หรือการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน มาเป็นรอง ผอ.รร. ทำข้ามเขตพื้นที่ได้ แต่ต้อง กศจ.เดียวกัน
– เข้าสู่กระบวนการสรรหาบุคคลต่อไป
– หรือออกคำสั่งเปลี่ยนตำแหน่ง กรณีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนจากครูที่จะบรรุครูขึ้นบัญชี ถึงลำดับที่จะเลือก เป็นรอง ผอ.รร.
เกณฑ์อัตรากำลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.บวร เทศารินทร์